วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โหระพา

โหระพา

                โหระพา เอาส่วนกิ่งที่ใช้แล้วมาปลูกกับดิน แล้วค่อยๆรดน้ำให้พอประมาณถ้ารดมาไปต้นไม้อาจจะตายได้รดไปเลื่อยจนกว่าจะต่อ และคอยสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงของต้นโหระพา ใช้เวลาประมาณ 12 วัน ในการปลูกต้นโหระพาต้นกว่าจะโต 




                   ในวันที่1 เราจะนำกิ่งโหระพาที่ใช้แล้วกลับมาปลูกอีกครั้ง(รีไซเคิล) ปลูกกับดินหรือปุ๋ยก็ได้และรดน้ำพอสมควร
                   ในวันที่5 ก็ไปดูผลงานหรือดูงานที่เราทำว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและผลที่ได้ออกมาคือ โหระพาเริ่มออกใบมาบ้างแล้วและก็รดน้ำต่อไปประจำทุกๆวันโดยพอประมาณ
                   ในวันที่7 ก็เริ่มออกมามากขึ้นกว่าวันที่5 ก็ทำตามเคยคือรดน้ำ
                   ในวันที่12 ใบของมันก็ค่อยๆออกมาเยอะมากขึ้น ถึงแม้ยังไม่เต็มที่ดีสักเท่าไหร่ 
   ประโยชน์ของโหระพา   มีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการนำเอาไปประกอบ ตกแต่งอาหาร ฯ อีกทั้งโหระพายังเป็นสมุนไพรอีกด้วยช่วยรักษาในหลายๆอย่าง เช่น
1. แก้ไข้ ปวดศรีษะ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร โดยใช้ยอดอ่อนต้มกับน้ำรับประทานเป็นชาหรือรับประทานเป็นผักสด
2. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายอ่อน ๆ เพื่อแก้อาการท้องผูก โดยนำเมล็ดแก่แช่น้ำให้พองตัวเต็มที่รับประทานกับขนมหวานโดยผสมกับน้ำหวานและน้ำแข็ง
3. ใช้รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง โดยบดใบโหระพาแห้งให้เป็นผงทาบริเวณที่เป็น
4. บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยคั้นน้ำจากใบโหระพาสด ประมาณ 1ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอ้อย 2ช้อน รับประทานวันละ 2ครั้ง พร้อมกับน้ำอุ่น
5. แก้สะอึก โดยใช้ใบโหระพาสดหรือแห้งพร้อมขิงสดแช่ในน้ำเดือดรับประทานในขณะที่น้ำยังร้อน
6. น้ำมันโหระพาสามารถฆ่ายุงและแมลงได้
7. เมล็ดแก่แช่น้ำใช้พอกแผลบรรเทาอาการฟกช้ำ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

                   เครือข่ายคอมพิวเตอร์
                 การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม

การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ

http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.gif

ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ



เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้


ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image002.jpg
รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
ที่มา: http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html